วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การพัฒนากลยุทธ์การตลาดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)ของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแพรวา

ผู้ผลิตส่วนใหญ่ ไม่มีการวางแผนการผลิตระยะยาวที่ชัดเจน การผลิตขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าที่สั่งซื้อและปริมาณเงินทุนของ กลุ่ม วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตซื้อจากพ่อค้าคนกลางที่นำมาจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มผู้ผลิตทำการผลิตมีชนิด รูปแบบ และขนาดของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย การพัฒนาชนิด


     และรูปแบบของผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างช้าๆ กำหนดราคาโดยประเมินจากต้นทุนของผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการส่งเสริมการตลาดที่ใช้ ได้แก่ การให้ส่วนลด และของแถม ปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาวัตถุดิบราคาแพง และความไม่เพียงพอของเงินทุน ส่วนปัญหาด้านการตลาดได้แก่ ปัญหาการขาดทักษะในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ในราคาต่ำ และการขาดตลาดรองรับที่แน่นอน

อ่านต่อได้ที่นี้ : https://www.gotoknow.org/posts/30313

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

ผ้าไหมแพรวาร้านเป็นผ้ายอดนิยมมีลวดลายเอกลักษณ์ดีเยี่ยม


 


       ลวดลายของแพรวามีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิดอีสาน แตกต่างกันอยู่บ้างที่ ความหลากหลายของสีสันในแต่ละลวดลาย แต่มีลักษณะรวมกันคือ ลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า ส่วนสีสันบนผ้าแพรวาแต่เดิมนิยมพื้นสีแดงคล้ำย้อมด้วยครั่ง มีลายจกสีเหลือง สีน้ำเงิน สีขาว และสีเขียวเข้มกระจายทั้งผืนผ้าสอดสลับในแต่ละลายแต่ละแถว

อ่านต่อได้ที่นี้ : http://www.poncity.go.th/travel.php?content_id=3

เลือก "ไหมแพรวากาฬสินธุ์" เป็นสินค้าคู่แฝดเครื่องหนังดังอิตาลี

       ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ เป็นสินค้า 1 ใน 11 รายการของประเทศไทย ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ ตราสัญลักษณ์ GI ซึ่งหมายถึงสิ่งที่บ่งบอกแหล่งผลิตของสินค้า ให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือมีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตในแหล่งผลิตอื่น ประเทศไทยมีสินค้าที่ได้รับตราสัญลักษณ์ GI เพียง 11 รายการ 1 ในนั้น คือ ผ้าไหมแพรวาจังหวัดกาฬสินธุ์


อ่านต่อได้ที่นี้ : http://www2.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000075085

Creative Commons License



This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.