คลิปสัมภาษณ์

บทสัมภาษณ์ป้าอ้วน
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): เดี๋ยววันนี้ผมจะมาสัมภาษณ์ป้าอ้วนหน่อยนะครับก็คือว่า ผมอยากรู้ว่าจุดเริ่มต้นของการมาเป็นช่างเย็บผ้ามันเริ่มมาจากอะไรครับ ?
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าอ้วน): อ้าว! ไปเรียนก่อนสิ เรียนตัดเย็บ เรียนสร้างแบบ โครงสร้าง คือเราต้องวาดรูปอะ วัดไหล่ อกเท่าไหร่ ตรงไหนเท่าไหร่ๆ  เราต้องวาดทำโครงสร้างขึ้นมา เสื้อกางเกงทุกชนิดต้องทำโครงสร้างขึ้นมาก่อน แล้วเราก็เรียนตัดเย็บ ขั้นแรกที่เค้าให้ทำให้วาดรูปสร้างโครงสร้างขึ้นมาก่อน แล้วพอแล้วสร้างแบบเป็น เราก็ซื้อผ้ามาวางแบบแล้วก็ตัดแล้วก็เย็บตามรูปผ้าที่เราวาด 
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): แล้วผมเห็นงานแต่ละงานบางงานผมเห็นงานป้าอ้วนงานชุดไทยมันยากไหมป้าอ้วน งานชุดไทย ?
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าอ้วน): ยาก!!
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): ค่อนข้างละเอียดหรอป้าอ้วน
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าอ้วน): ใช่!! ชุดไทยนี้ทำยากสุดแล้ว มันต้องพอดีกับตัว
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): ไม่งั้นคนใส่ไม่สวยอะไรงี้ใช่ไหมครับ
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าอ้วน): ใช่!!
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): เอ่อ! แล้วทำไมผมเห็นร้านป้าอ้วนนี้คนเพียบเลย เกิดจากอะไร
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าอ้วน): มันต้องอยู่ที่ฝืมือ ว่าเราทำดีไหมสวยไหม ถ้าเราทำลวกๆไป มันก็ไม่ดี ทำลวกๆ ไปคือเป็นงานโหล
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): งานชุ้ยหรอป้าอ้วน งานไม่ละเอียด
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าอ้วน): ใช่ๆ เราเป็นช่างตัดเสื้อผ้าเราต้องทำให้สวยๆ ให้มันดีเรียบร้อย
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): เพราะเค้าต้องเอาไว้ใส่ในชีวิตประจำวัน
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าอ้วน): ถ้าเย็บโหลๆ ก็ได้แต่ไม่ทำไม่เย็บ เอ่อการเป็นช่างนี้มันก็ต้องฝึกกันไปทุกวันๆ  ก็เหมือนช่างซ่อมรถอะต้องทำทุกวันๆ เดี๋ยวก็เก่ง ต้องนั้นไม่ดี ต้องนี้ไม่ดี เราก็ต้องดัปแปลง
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): ให้งานผ้าไทยมันออกมาละเอียดแล้วก็ดีที่สุดใช่ไหมครับ
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าอ้วน): ใช่ๆ ช่างทุกผ้าเหมือนกันหมดไม่ว่าช่างเย็บผ้าช่างอะไรก็ตาม แลกๆ นี้อาจจะตะกุกตะกัก เพราะว่าเรายังมือใหม่ เรายังไม่มีประสบการณ์ ความรู้ยังไม่ค่อยถึง เรายิ่งทำนานวันมันก็ยิ่งดี
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): เพราะว่าร้านนี้ผมมาทำประจำไง งานละเอียดงานดีก็ราคาก็พออยู่ในพอประมาณด้วย
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าอ้วน): ไม่ใช่ว่าเย็บนิดนึงปะร้อยนึงง่ายๆ ก็ 50บาท 100นึง เราไม่ใช่ อย่างต่ำก็ร้อยนึง 400,500,1500 แล้วแต่ เราต้องทำให้เนียนแพงแต่จบ ทำให้สวย
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): ขอบคุณป้าอ้วนครับที่ให้สัมภาษณ์

บรรณาณุกรมผู้สัมภาษณ์
ป้าอ้วน ขวัญลัลนา ราชาวดี.  ช่างถักผ้าไหม ร้านถักผ้าไหมย่านดอนเมือง. สัมภาษณ์, 1 ตุลาคม 2559.


บทสัมภาษณ์ป้าตุ๋ม
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล):  ป้าสวัสดีครับ
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าตุ๋ม): อ่า สวัสดีครับ
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล):  จุดเริ่มต้นของป้าการมาเป็นช่างเย็บผ้าเกิดจากอะไรหรอป้า
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าตุ๋ม): เกิดจากอะไรหนะหรอ?
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): ใช่ครับเริ่มมาจากจุดไหน
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าตุ๋ม): ก็เมื่อก่อนป้าขายของใช่ไหมละ มันก็ขายได้แต่เรามันอายุเยอะแล้ว เราจะไปดิ้นรนอย่างนั้นมันไม่ไหว คิดว่ามานั่งทำงานอย่างเนี้ยมันก็สำหรับคนแก่คนมีอายุ เราก็ทำได้พอเลี้ยงครอบครัว
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): เอ่อป้าแล้วทำไมผมสังเกตุหนะ ร้านอื่นลูกค้ามันน้อยมากเปรียบเทียบกับร้านป้านี้ในดอนเมืองร้านป้าลูกค้าเยอะตลอด ผมมาทีไรก็แบบคิวตั้ง 4-5 วันตลอดเลย มันเกิดจาอะไรป้า ลูกค้าติดใจอะไรป้า
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าตุ๋ม): ก็ป้าทำก็ต้องทำให้ละเอียดแล้วก็ไม่แพง ก็ลูกค้าป้าเยอะเพราะป้าทำไม่แพง แล้วก็ต้องทำให้ละเอียดใช่ไหมละ
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): เพราะลูกค้าต้องใส่เค้าก็อยากดูดีใช่ไหมป้า เพราะต้องใส่ให้มันดูดี
ผู้ให้สัมภาษณ์(ป้าตุ๋ม): เพราะว่าบางทีผ้าเขาแพงๆ ใช่ไหมไปทำงานเสียก็ไม่ได้ เพราะบางคนนะเค้าทำที่อื่นมานะ แล้วก็ไม่ดีมาให้ป้าแก้อีก แล้วดูแล้ว แล้วแพงด้วยนะ ที่นี้ป้าทำไม่แพงแล้วก็ป้าทำสบายๆ
ผู้สัมภาษณ์(จุมพล): ขอบคุณครับป้าตุ๋ม
บรรณานุกรมสัมภาษณ์
ป้าตุ๋ม แพรวภัทรวดี แพรวทอง. ช่างเย็บผ้า ร้านรับแก้งานผ้าย่านรังสิต. สัมภาษณ์, 1 ตุลาคม 2559.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น